รู้เขา รู้เรา รู้โลก รู้โศก รู้สุข ไม่สิ้นหวัง เพราะอ่านได้อ่านดีมีพลัง ห้องสมุดคือขุมคลังของชีวิต สุจิตต์ วงษ์เทศ
 
รายการหลัก
 
 
MENU LINK :
 
 
 
จำนวนผู้เยี่ยมชม
Website Hit Counter

 

 

 

 

   
พระนามเดิม จันทร์
นามสกุล อินทสร
ฉายา อินฺทสโร
เกิด วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๓๗
สถานที่เกิด บ้านสระมะเขือ ตำบลสระมะเขือ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
บิดา นายแกน อันทสร
มารดา นางนา อินทสร
บรรพชา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๐ ณ วัดสระมะเขือ ตำบลสระมะเขือ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หล้า
อุปสมบท

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๗ ณ วัดท่าเกวียน ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

พระอุปัชฌาย์ พระครูสารธรรมสุนทร วัดจอมศรี อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

พระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดปา วัดจอมมณี อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

พระอนุสาสนาจารย์ พระสมุห์ก้อย วัดมหาเจดีย์ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

การศึกษา  
๒๔๕๐
ได้ศึกษาอักขรสมัยอยู่ที่วัดสระมะเขือ จังหวัดปราจีนบุรี จนมีความรู้อ่านออกเขียนได้จึงย้ายมาอยู่วัดท่าเกวียน ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคา จังหวัดฉะเชิงเทรา
๒๔๕๗
ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดท่าเกวียน ๑๐ ปี
๒๔๖๖
ได้ย้ายไปศึกษาต่อที่วัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) จังหวัดพระนคร อยู่ในความอุปการะของพระครูวินัยธรเล็ก
๒๔๖๖
สอบได้ น.ธ.ตรี สำนักเรียนวัดราชบุรณะ พระนคร
๒๔๖๗
สอบได้ ป.ธ.๓ สำนักเรียนวัดพระเชตุพน พระนคร
๒๔๖๘
สอบได้ น.ธ.โท สำนักเรียนวัดพระเชตุพน พระนคร
๒๔๖๙
สอบได้ ป.ธ.๔ สำนักเรียนวัดพระเชตุพน พระนคร
๒๔๗๐
สอบได้ ป.ธ.๕ สำนักเรียนวัดพระเชตุพน พระนคร
๒๔๗๔
สอบได้ ป.ธ.๖ สำนักเรียนวัดราชบุรณะ พระนคร
หน้าที่การงาน  
๒๔๗๑
เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดราชบูรณะ พระนคร
๒๔๗๓
เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าเกวียน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
๒๔๗๓
ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสวัดท่าเกวียนให้เป็นผู้จัดตั้งสำนักศาสนศึกษาวัดท่าเกวียน เปิดสอนทั้งแผนกธรรมและบาลี
๒๔๗๘
เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าเกวียน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
เป็นเจ้าคณะอำเภอพนมสารคาม
เป็นพระอุปัชฌาย์
๒๔๙๘
เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา"
ผลงาน  
  ๑. ได้จัดตั้งสำนักศาสนศึกษาวัดท่าเกวียน เปิดสอนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๓ เป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้เปิดการศึกษาบาลีวิสามัญศึกษา (บาลีมัธยม) เป็นสาขาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดไตรมิตรวิทยาราม อำเภอสัมพันธวงศ์ พระนคร เพื่อให้ภิกษุสามเณรในเขตอำเภอพนมสารคาม และเขตที่ใกล้เคียงได้มีสถานศึกษาเช่นเดียวกับภิกษุสามเณรในเมืองหลวง
  ๒. ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในท้องถิ่น อาทิ ก่อสร้างศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฎีและอุโบสถทั้งที่วัดท่าเกวียนและวัดอื่นๆ ในอำเภอพนมสารคามและอำเำภอใกล้เคียง พร้อมทั้งให้คำปรีกษาแนะนำในการก่อสร้าง
  ๓. ก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลโดยมีผู้บริจาคเงินช่วยในการก่อสร้างกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งชื่อโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนวัดท่าเกวียนสัยอุทิศ"
 

๔. ได้เชิญชวนสาธุชนให้ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินสร้างโรงเรียนมัธยมต้นเป็นที่ดินจำนวน ๑๓ ไร่เศษ และได้ติดต่อประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการได้รับอนุมัติให้เงินงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน ๑ หลังและโรงฝึกงานอีก ๑ หลัง เรียกว่า "โรงเรียนพนมสารคาม"

  ๕. ได้เชิญชวนสาธุชนให้ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินสร้างโรงเรียนมัธยม ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๘ ได้เงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ซื้อที่ดินได้ ๑๐ ไร่ ๒ งาน ต่อมาวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๔๙๙ ได้ซื้อเพิ่มอีก ๒ ไร่ ๙๖ ตารางวา เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท รวมเป็นที่ดิน ๑๓ ไร่ ๙๖ ตารางวา จากนั้นได้ติดต่อประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการจนได้รับอนุมัติให้เงินงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง เป็นเงิน จำนวน ๗๕๐,๐๐๐ บาท และให้ชื่อโรงเรียนมัธยมแห่งนี้ว่า โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งเดียวและแห่งแรกของอำเภอพนมสารคาม
สมณศักดิ์  
๒๔๘๑
เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท ที่ "พระครูอดุลคณูปถัมภ์)
๒๔๙๐
เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
๒๔๙๖
เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ "พระอดุลสารมุนี"
มรณภาพ  
  เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๑๒ เวลา ๑๒.๐๐ น. ด้วยโรคมะเร็งในกระเำพาะปัสสาวะ รวมสิริอายุ ๗๖ ปี พรรษา ๕๕